(ร่าง) หลักสูตรการศึกษาประถมศึกษาตอนต้น (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3) พุทธศักราช 2568
หลักสูตรการศึกษาประถมศึกษาตอนต้น (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3) พุทธศักราช 2568 (ร่าง)
คลิก! โหลดหลักสูตรฯ | อินโฟกราฟิก แผ่นที่ 1 / 2
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี) พุทธศักราช 2568 (ร่าง)
คลิก! โหลดหลักสูตรฯ
คู่มือพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาประถมศึกษาตอนต้น (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3) พุทธศักราช 2568
คลิก! คู่มือพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย | การศึกษาประถมศึกษาตอนต้น
รายละเอียดสาระสำคัญ
1. วิสัยทัศน์
มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีความสามารถพื้นฐานที่เข็มแข็งสามรถประยุกต์ใช้ความรู้ในการดำรงชีวิตประจำวัน มีจินตนาการที่สร้างสรรค์ และมีความสุขในการเรียนรู้ สามารถเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพในสังคม
2. หลักการ
1. เป็นหลักสูตรที่มีความสามารถพื้นฐานในการเรียนรู้ (Basic Literacy) และการดำเนินชีวิตประจำวัน (Functional Literacy) ที่เหมาะสมตามช่วงวัย
2. เป็นหลักสูตรที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยส่งเสริมการพัฒนาทักษะและกระบวนการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาและเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning)
3. เป็นหลักสูตรที่เน้นการประเมินความก้าวหน้า (Formative Assessment) ของพฤติกรรมการเรียนรู้ให้มีทิศทางเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
4. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น ทั้งด้านความรู้ เวลาเรียน การวัดการเรียนรู้ และการประเมินผลที่หลากหลายที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน
5. เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการหลักสูตรในรูปแบบโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. จุดหมาย
1. ผู้เรียนสามารถอ่าน เขียน และคิดคำนวณ และใช้เครื่องมือในการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับบริบทจริง
2. ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียนรู้ไปสู่การดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง และสามารถสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
4. ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข
4. กรอบความสามารถของผู้เรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาตอนต้น
1. ความสามารถพื้นฐานด้านการเรียนรู้ (Basic Literacy)
2. ความสามารถด้านการอ่าน (Reading Literacy)
3. ความสามารถด้านการเขียน (Writing Literacy)
4. ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ (Numeracy)
5. ความสามารถพื้นฐานด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน (Functional Literacy)
- ด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี
- ด้านศิลปะและการแสดงออก
- ด้านสุขภาพและร่างกาย
- ด้านจิตวิทยาสังคม
- ด้านอารมณ์และสุนทรียภาพ
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
- ซื่อสัตย์สุจริต
- มีวินัย
- ใฝ่เรียนรู้
- มีจิตสาธารณะ
5. ความสามารถผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น
เข้าใจความหมายของคำ ข้อความ ภาพ สัญลักษณ์ แผนภูมิ แผนภาพ แผนผัง และเรื่องราวในชีวิตประจำวัน สามารถสรุปสาระสำคัญ และสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีจิตสำนึกใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันมีทักษะในการสังเกตและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี สามารถสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคมเข้าใจโอกาสทางเศรษฐกิจของครอบครัว เข้าใจถึงกระบวนการทำให้เกิดรายได้ และมีพฤติกรรมที่ดีในการออมและการบริหารจัดการทรัพยากร
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์มีจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถอนุรักษ์พลังงานจากการเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
6. ความรู้พื้นฐาน
เป็นชุดองค์ความรู้ ทักษะ และความสามารถที่บุคคลจำเป็นต้องมี เพื่อให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ประกอบด้วย
1. ความรู้พื้นฐานด้านการศึกษาสามัญ ครอบคลุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น ภาษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
2. ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ได้แก่ การบริหารตนเอง การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ศิลปะ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
3. สุขภาวะและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
** สถานศึกษาสามารถกำหนดความรู้พื้นฐานในแต่ละด้านได้ตามบริบทของสถานศึกษา
7. โครงสร้างเวลาเรียน
กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนทั้งหมด ไม่ต่ำกว่า 800 ชั่วโมงต่อปี เพื่อพัฒนาพื้นฐานการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ประถมศึกษาปีที่ 1 รวม 100 ชั่วโมงสะสมต่อระดับชั้นต่อปี
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ 70 ชั่วโมงสะสมต่อระดับชั้นต่อปี
2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 25 ชั่วโมงสะสมต่อระดับชั้นต่อปี
3. โครงงาน/การศึกษาค้นคว้า 5 ชั่วโมงสะสมต่อระดับชั้นต่อปี
ประถมศึกษาปีที่ 2 รวม 100 ชั่วโมงสะสมต่อระดับชั้นต่อปี
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ 60 ชั่วโมงสะสมต่อระดับชั้นต่อปี
2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 35 ชั่วโมงสะสมต่อระดับชั้นต่อปี
3. โครงงาน/การศึกษาค้นคว้า 5 ชั่วโมงสะสมต่อระดับชั้นต่อปี
ประถมศึกษาปีที่ 3 รวม 100 ชั่วโมงสะสมต่อระดับชั้นต่อปี
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ 50 ชั่วโมงสะสมต่อระดับชั้นต่อปี
2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 45 ชั่วโมงสะสมต่อระดับชั้นต่อปี
3. โครงงาน/การศึกษาค้นคว้า 5 ชั่วโมงสะสมต่อระดับชั้นต่อปี
8. การจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลการเรียนรู้
1. ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในการออกแบบการเรียนรู้
2. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ผ่านโครงงานวิจัย
3. ปรับปรุงโครงสร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้
4. ส่งเสริมให้ใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
5. บูรณาการกระบวนการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย
6. ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน
7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและระดับความสามารถของผู้เรียน
9. ความแตกต่างกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1. เน้นพัฒนาความสามารถพื้นฐานและการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น
2. ผู้เรียนสามารถใช้ความคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาสถานการณ์จริง เช่น อ่านจับใจความสำคัญ สะท้อน และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
3. จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด เช่น โครงงานการศึกษาค้นคว้า
4. มีความยืดหยุ่น ปรับแนวทางตามความต้องการของผู้เรียนและสถานศึกษา
5. ใช้การประเมินผลหลากหลาย เช่น การประเมินจากการปฏิบัติและพฤติกรรม
6. ใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะและแนวคิดแบบสร้างสรรค์ เช่น กิจกรรมเทคโนโลยี
7. การพัฒนาผู้เรียนเน้นไปที่สมรรถนะและศักยภาพของผู้เรียน
8. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้หลายลักษณะ ทั้งรูปแบบหน่วยเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ กิจกรรม โครงงาน ตามบริบทของสถานศึกษา
9. สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี
10. สถานศึกษาสามารถกำหนดความรู้พื้นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษา
ที่มา : (ร่าง) หลักสูตรการศึกษาประถมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2568
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
Website: www.academic.obec.go.th
Phone: 0 2288 5764
โปรแกรมวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์. (2568). (ร่าง) หลักสูตรการศึกษาประถมศึกษาตอนต้น (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3) พุทธศักราช 2568. สืบค้น 18 เมษายน 2568, จาก https://elementary.kpru.ac.th/?page_id=608&lang=TH
ข้อมูลอื่น ๆ
ติดตามผลงานครูก้าน..... กับการเรียนการสอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์กับแนวทางทวิ/พหุภาษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน บนสถานีโทรทัศน์ ThaiTPS
เผยแพร่เมื่อ 18 เมษายน 2568
โปรแกรมวิชาการประถมศึกษาขอแสดงความยินดีกับนายจิรายุ ทับทิมทัย นักศึกษาโปรแกรมวิชาการประถมศึกษา ชั้นปีที่ 1 ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดออกแบบเสื้อ Freshman 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 9 เมษายน 2568
ขอแสดงความยินดีกับ ดร.ยุทธนา พันธ์มี ได้รับทุนสนับสนุนงบประมาณการวิจัยด้านบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2568
เผยแพร่เมื่อ 13 มีนาคม 2568